15 โดเมนที่เก่าแก่ที่สุด! มีอายุมากกว่า 30ปี

เปิดตำนาน Dotcom กับ 15 โดเมนที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุมากกว่า 30ปี

## เปิดตำนาน Dotcom web address ##
กับ 15 โดเมนที่เก่าแก่ที่สุด! มีอายุมากกว่า 30ปี
.COM is one of the first set of gTLD”

คุ้น ๆ กับชื่อโดเมนเหล่านี้กันไหมครับ
#เกิดทันไหม 555+++
09-Jan-1986 XEROX.COM
03-Mar-1986 HP.COM
19-Mar-1986 IBM.COM
19-Mar-1986 SUN.COM
25-Mar-1986 INTEL.COM
25-Apr-1986 ATT.COM
05-Aug-1986 GE.COM
05-Aug-1986 STARGATE.COM
02-Sep-1986 BOEING.COM
29-Sep-1986 SIEMENS.COM
17-Nov-1986 ADOBE.COM
17-Nov-1986 AMD.COM
11-Dec-1986 3COM.COM
19-Feb-1987 APPLE.COM
14-May-1987 CISCO.COM

จากรายรายชื่อโดเมนข้างบน
แอดก็จะลากเข้าสู่เนื้อหาเบา ๆ เบสหนัก ๆ
อ่านเพลิน ๆ กับคำว่า…
DNS หรือ “Domain resolving Name Server”

เริ่มต้นเดิมที resolving name server จะอยู่ฝั่งของ ISP ครับ
มันก็คือผู้ใหญ่บ้าน (เฉยท้ายบทความ) Name server ที่เอาไว้เก็บข้อมูล ค่อยตอบคำถามลูกบ้าน (หรือคนจากต่างแดน) นั้นแหละคร้าบบ
หากย้อนไปสมัยที่ยังไม่มีผู้ให้บริการ Public DNS ฟรีๆ
เช่น Cloudflare (1.1.1.1),
OpenDNS (208.67.222.222)
หรือ Google (8.8.8.😎

เมื่อเราเชื่อมต่ออินเทอร์ผ่าน ADSL, DSL, VPN
ต่อไปยัง ISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(interner service provider) ผู้ให้บริการจะเป็นคน resolving name server ให้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

ที่เซิร์ฟเวอร์ ISP มีเครื่อง Name Server
(DNS server ไอพี 12. 34.56.78)
มีโซนไฟล์หรือฐานข้อมูลเก็บ records เครื่อง
เช่น zone th.com
มี A recored เป็นไอพีเซิร์ฟเวอร์ 11. 22.33.44
และมี CNAME recored เป็นชื่อ
www. และ mapping เข้ากับ A record

เหมือนเครื่องไคล์เอ็นที่บ้านเชื่อมต่ออินเทอร์
เราท์เตอ์ก็ได้จะ public ip addres ที่ ramdom ไปมา
และมีค่าไอพีแอดเดรส DNS server มาให้ด้วยเช่น
NS1 ไอพี 12. 34.56.78
และ NS2 ไอพี 12. 34.56.79 ทำนองนี้ครับ

พอเครื่องไคล์เอ็นท์เปิดเว็บพิมพ์ URL www. th.com
มันก็จะวิ่งไปถาม DNS server ไอพี 12. 34.56.78 ว่า
ไอ้ที่ชื่อ www.th .com บ้านเลขทีอะไร (IP)
เครื่อง DNS server ก็จะ Query
แล้วตอบกลับมันคือเครื่องไอพีเซิร์ฟเวอร์ 11. 22.33.44

ดังนั้นหาก DNS serve เครื่องนั้นตาย
เราก็ไม่สามารถเข้าเว็บได้ www. th.com
ซึ่งปกติผู้ให้บริการจะมี Name server อยู่ 3-4 เครื่อง
ไว้ backup หากเครื่องแรกตายก็ให้มาถามเครื่องที่ 2,3,4 ตามลำดับ

อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คน
อาจมีคำถาม อ้าววหากไม่มี DNS server ล่ะ
จะใช้ Public DNS ฟรี ให้ไปถามหรือ query ได้ไหม?
คำตอบคือ ได้ครับ
และทำได้ 2 วิธี

1). แก้ไขค่า DNS server
บน Router เราเลย (โดยไม่ต้องใช้ของ ISP ซึ่งอาจจะช้า)

2). แก้ไขที่เครื่องไคลเอ็นท์ ไฟล์ Resolver
(กรณีบน UNIX / Linux )
Standard ไฟล์พาทคอนฟิกจะอยู่ที่ /etc/resolv.conf

เราก็เพียงแค่เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง

vi /etc/resolve.conf

แล้วแก้ไข/เพิ่มเติม
#cloudflare
nameserver 1.1.1.1
#google
nameserver 8.8.8.8

บันทึกไฟล์เป็นอันเสร็จครับ
สำหรับใครที่ใช้ Windows, Mac OS
ก็เปิด Google โลดดด 55++

จากนั้นก็ทดสอบ Query ด้วยคำสั่ง
dig หรือคำสั่ง nslookup ก็ได้
(บน Windows ใช้คำสั่ง nslookup )

เช่น

dig google.com

ผลลัพธ์ที่ได้:;; Query time: 4 msec
;; SERVER: 1.1.1.1#53(1.1.1.1)

จากผลลัพธ์อธิบายก็คือ
มันให้เครื่อง 1.1.1.1
(ที่เป็น DNS เซิร์ฟเวอร์ของ Cloudflare ไปถามแทน ว่าไอ้ google.com นี้อยู่ที่ไหน)

และอีกบรรทัดนึ่งที่น่าสนใจคือ

;; flags: qr rd ra; QUERY: 1, ANSWER: 1, AUTHORITY: 0, ADDITIONAL: 1

(ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว)

เราจะเห็นว่า flags AUTHORITY: 0
ทำไมไม่เป็น AUTHORITY: 1

นั้นมันเป็นเพราะว่าเครื่อง 1.1.1.1 ไม่ใช่ authority
ที่เป็นคนถือ zone ไฟล์ th. com ไว้

แล้วจะรู้ได้ยังไงโดเมน th. com
อยู่บน DNS server เครื่องไหน?

ให้เราพิมพ์คำสั่ง เช่น

dig -t ns empowernext.biz

;; ANSWER SECTION:
empowernext.biz. 86400 IN NS emma.ns.cloudflare.com.
empowernext.biz. 86400 IN NS pete.ns.cloudflare.com.

จากข้อมูลข้างบน
เมื่อรู้ NS เซิอร์เวอร์แล้ว
คือ emma.ns.cloudflare.com
และ pete.ns.cloudflare.com

ซึ่งเป็น DNS server ของ Cloudflare ที่เก็บไฟล์ฐานข้อมูลตาราง records โดเมน empowernext .biz ไว้

แต่ ๆๆๆ

มันก็ไม่ได้หมายความว่าเป็น AUTHORITY ของโดเมน นะครับ

วิธีการเช็ค AUTHORITY ของโดเมน

ให้พิมพคำสั่ง

dig empowernext.biz @emma.ns.cloudflare.com

ผลลัพธ์ที่ได้
AUTHORITY: 0

เครื่อง emma.ns.cloudflare.com ยังไม่ใช่ AUTHORITY
ที่ถูกต้องคือ AUTHORITY: 1

จากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง

dig empowernext.biz @ns1.google.com

;; AUTHORITY SECTION:
google.com. 60 IN SOA ns1.google.com. dns-admin.google.com. 319493427 900 900 1800 60

เมื่อเป็น AUTHORITY มันจะแสดง records มาให้ดังข้อมูลข้างบน
ที่เล่ามาเป็นเรื่องของการ resolving name server
ไม่ว่าจะ AUTHORITY เป็น 1 หรือ 0
ก็ไม่ได้มีอะไรผิด

ถ้าจะให้เข้าใจง่ายกว่านี้
แอดก็จะยกตัวอย่างไปทางบ้าน 55++++

ณ ตำบลแห่งนึ่งมีหมู่บ้าน A และ B

ถ้า…หากลูกบ้าน B เดินไปถามผู้ใหญ่บ้าน A ว่านาย th . com
อยู่บ้านเลขที่อะไร? ผู้ใหญ่บ้าน A ตอบกลับมาอย่างถูกต้อง
แบบนี้เราเรียกเว่าไม่ได้เป็น AUTHORITY คือคิวรีออกมาเท่ากับ 0

แต่…
หากลูกบ้าน B เดินไปถามผู้ใหญ่บ้าน B ว่า
นาย th .com อยู่บ้านเลยที่อะไร?
ผู้ใหญ่บ้าน B เปิดสมุดหาแอดเดรส
และตอบได้อย่างถูกต้อง อันนี้เป็น AUTHORITY

หากขยับเข้ามาใกล้ตัวหน่อย
Name server เป็นเครื่อง DNS server
ที่ติดตั้งเอาไว้สำหรับให้บริการภายในองค์กรของเรา
และมีการคอนฟิก Resolving Forward ไปยัง ISP หรือ Public DNS อีกที

เช่น app.domain.com -> เราก็สร้าง record ให้ mapping ไปยังเครื่อง App server ไอพีแอดเดรส 192. 168.100.10 อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้นชื่อเนม app.domain.com
เวลาเรียกจากข้างนอกก็จะเข้าถึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์คนล่ะเครื่องกันครับ
(หรือจะ forward ไปเครื่องเซิร์ฟเวอร์เดียวกันก็ได้)

ขอเสียงใครอ่านจบ!
ช่วยกดแชร์ แล้วแท็กคำว่า #ผู้ใหญ่บ้านSUSEMAN 55+++

เอาเป็นว่าแอดมินหวังว่าจะอ่านกันเพลิน
และหากมันเป็นประโยชน์ก็ฝากคอมเม้นท์ #อ่านจบ
ฝากกดแชร์ไปให้เพื่อน ๆ ของเราได้อ่านด้วยนะครับ

Source:
////www.dnsknowledge.com/news/25-years-of-the-com/
////www.dnsknowledge.com/whatis/authoritative-name-server/

#gTLD #SUSMAN #DNS #NameServer

Leave a Reply

Scroll to top