Maverick Protocol (MAV) ซึ่งเป็นโมเดล AMM ใหม่ที่เคลมว่าจะปลดล็อกประสิทธิภาพด้านเงินทุนที่ประสิทธิภาพสูงที่สุดในตลาด เพิ่มประสิทธิภาพของเงินทุนให้สูงสุดโดยการทำให้ capital efficiency ของสภาพคล่องเป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อราคาผันผวน นั้นหมายความว่าผู้ให้บริการสภาพคล่องสามารถกำหนดทิศทางราคาลงในพูลสภาพคล่องของตนได้ครับ (Dynamic Distribution AMM)
Maverick is the first Dynamic Distribution AMM model.
Maverick Protocol is a next-generation DeFi infrastructure provider focused on increasing industry efficiency, live on Ethereum and zkSync Era to maximize capital efficiency by Automated Liquidity Placement (ALP) in a decentralized way.
Maverick Protocol คืออะไร?
Maverick Protocol เป็นโปรโตคอลสำหรรับการให้บริการสภาพคล่อง และ Decentralized exchange (DEX) ที่ทำงานบนเชน Ethereum Mainnet และ zkSync Era โดยสร้างโมเดล AMM แบบใหม่ของตัวเองขึ้นมาที่รองรับการจัดการ Position แบบ Concentrated liquidity ที่แพลตฟอร์ม DEX ทั่ว ๆ ไปยังไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้
Maverick AMM เป็น concentrated liquidity AMM ที่สร้างโดยทีม Maverick โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะเป็น Dynamic Distribution AMM ที่ประสิทธิภาพสูงที่สุดในตลาด โดยมีฟีเจอร์สำคัญของ AMM ได้แก่
AMM แบบต่าง ๆ
Maverick Protocol ต่างจาก Uniswap V3 อย่างไร? จุดเด่นคืออะไร?
🦄 Uniswap โปรโตคอล V1 ผู้บุกเบิก x*y=k (Constant Product Market Maker) ทำให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถจัดหาสภาพคล่องและรับผลตอบแทนจาก crypto asset ของตนได้ง่าย เช่น เดียวกับการ trade ซื้อขายบนเครือข่าย on-chain และ Uniswap V2 ก็ได้เปิดตัวในเดือนสิงหาคม 2020 เป็นตัวเร่งกระตุ้นการเพิ่มผู้ใช้เข้าสู่ DeFi อย่างมากครั้งแรกในการเข้าสู่โลกการเงินแบบกระจายอำนาจ ซึ่่งระหว่างเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม 2020 ช่วงเวลานี้เรียกได้ว่าเป็น ‘DeFi Summer’ กันเลยครับ
Uniswap V3 ปรับปรุงระบบ TWAP Oracle ให้คำนวนค่า time weighted average จากราคาย้อนหลัง 9 วันแทนที่จะเป็น 1 วันจาก V2 ในการ call smart contract ครั้งเดียว
และผู้ให้บริการสภาพคล่องสามารถกำหนดเงินทุนให้อยู่ในช่วงราคาที่กำหนดเองได้ ซึ่งจะทำให้มีสภาพคล่องในราคาที่ต้องการได้มากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการสภาพคล่องจะสร้าง price curve ตามความต้องการของตนเองได้
Uniswap V3 ถือเป็นโปรโตคอล AMM ที่มีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยคุณสมบัติเหล่านี้
- ผู้ให้บริการสภาพคล่องสามารถให้สภาพคล่องด้วยประสิทธิภาพเงินทุนสูงกว่าเดิมถึง 4000x เมื่อเทียบกับ Uniswap V2 ทำให้ได้รับผลตอบแทนจากเงินทุนที่สูงขึ้น
- ผู้ใช้สามารถเทรดด้วยค่า slippage ที่ต่ำ (ต่ำกว่า)แม้กระทั่ง Centralized Exchange ทั่วไปและ AMM สำหรับ stablecoin โดยเฉพาะ
- ผู้ให้บริการสภาพคล่องสามารถเลือกที่จะเพิ่มความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงได้เองได้.
Maverick Protocol และ Uniswap V3 เป็นโปรโตคอลสำหรับการให้บริการสภาพคล่อง (liquidity provision) บนเครือข่ายบล็อกเชนสำหรบการแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิตอล นี่คือบางจุดที่ทำให้ Maverick Protocol แตกต่างจาก Uniswap V3
- Concentrated Liquidity Positions
ใน Maverick Protocol ผู้ให้บริการสามารถสร้างสภาพคล่อง(LPs) ที่มีการกระจายความสมดุลได้เป็นอย่างดีและสามารถกำหนดระดับราคาได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ Provide Liquidity มีความยืดหยุ่นในการ Pair คู่เหรียญและเพิ่มประสิทธิภาพในการซื้อขาย (การแลกเปลี่ยนหรือ swap) - Dynamic Range Orders
Maverick Protocol มีความสามารถในการสร้างคำสั่งเปิด/ปิด Position การให้สภาพคล่องอัตโนมัติโดยมีคำสั่งที่ปรับเปลี่ยนตามช่วงราคาและประมาณการเทรด เพื่อให้ผู้ให้บริการสภาพคล่อง สามารถเข้าร่วมกับสภาพของตลาดที่เคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม - Capital Efficiency
Maverick Protocol มีระบบความสามารถในการจัดสรรเหรียญหรือสินทรัพย์ในพูล การให้บริการสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถใช้สินทรัพย์ในพูลอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างรายได้ที่มากขึ้น - Protocol-level Risk Management
Marverick Protocol มีระบบการจัดการความเสี่ยงในระดับโปรโตคอลที่ช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสภาพคล่องได้ - Impermanent Loss Protection
Maverick Protocol มีคุณสมบัติ impermanent loss ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากความผันผวนของราคาระหว่างคู่เหรียญ โดยมีการรับประกันมูลค่าเหรียญของผู้ให้บริการสภาพคล่อง - Cross-Asset Liquidity Provision
ใน Maverick Protocol สามารถให้บริการสภาพคล่องระหว่างสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่จำกัดเฉพาะเจาะจงในคู่เหรียญที่ต้องการ นั้นหมายความว่าผู้ให้บริการสภาพคล่องสามารถให้บริการสภาพคล่องในหลากหลายคู่เหรียญตามความต้องการของตลาดได้
Maverick Pool Modes: กลยุทธ์ LPs Options 4 แบบ กับกลไกการปรับ LP position อัตโนมัติ
Maverick มีออปชั่นปรับ LP position อัตโนมัติ โดยไม่ต้อง remove liquidity ดังนี้
- แบบ Mode Static (Full custom)
กลยุทธ์นี้ช่วยให้เราเพิ่มสภาพคล่องโดยไม่ต้องใช้กลไกการเปลี่ยนสภาพคล่องของ Maverick AMM ซึ่งคล้ายกับ Uniswap V3 - แบบ Mode Right (เหมาะกับ Bull market)
กลยุทธ์นี้จะช่วยให้ liquidity position ของเราผันตามราคาเหรียญปรับขึ้น จะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อราคาเหรียญลง - แบบ Mode Left (เหมาะกับ Bear market)
กลยุทธ์นี้จะช่วยให้ liquidity position ของเราผันเมื่อเหรียญราคาเหรียญลง แต่ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อราคาเหรียญขึ้น - แบบ Mode Both (เหมาะกับตลาด Sideways)
กลยุทธ์นี้จะช่วยให้ liquidity position ของเราจะ move ตามราคาของเหรียญปรับเพิ่มขึ้นและลดลง
Maverick AMM ทำงานอย่างไร?
- ผู้ใช้ swap แลกเหรียญ และฝากเหรียญเข้าไปใน Pool
- Maverick LP Positions ในแต่ล่ะ mode จัดการปรับราคาเหรียญในพูลและการเอา Fee ที่เกิดจากการเทรดใส่กลับโดยการทบต้นเข้าไปโดยอัตโนมัติ (compounds trading fees back)
- เมื่อผู้ใช้งานกดถอน (Unstake LPs) ผู้ใช้จะได้เงินต้นและ Fee จากการเทรด
Fee Structure/Incentives:
ผลตอบแทนที่ได้รับจากการ Provide Liquidity
ผลตอบแทนที่ได้จากการให้บริการสภาพคล่องบน Maverick Protocol ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณการเทรดในพูล ความสมดุลของสินทรัพย์ในพูล (Liquidity Positions) และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ซึ่งผลตอบแทนที่อาจได้รับสามารถมาจาก:
- จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
โดยค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมในการเทรดนี้จะถูกแบ่งปันระหว่างผู้ใช้และโปรโตคอล ซึ่งส่วนแบ่งของผู้ให้บริการสภาพคล่องขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งที่เราตั้งค่าใน Liquidity Positons (Fees %) - ได้รับค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยน(swap)
รับส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้ที่มา swap แลกเหรียญในพูลและขึ้นอยู่กับส่วนแบ่งที่เราตั้งค่าใน Liquidity Positon (สามารถกำหนดค่าธรรมเนียม LPs ได้ตั้งแต่ fee rates: 0.01% – 3.00%) โดยที่ค่าธรรมเนียมจะจ่ายโดยนักเทรดให้กับ liquidity provider - ผลตอบแทนอื่น ๆ อาทิเช่น Airdrop จากโปรโตคอล, รางวัลและโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Booost Positions) อื่น ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลตอบแทนเหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขและกฏระเบียนของ Maverick Protocol ครับ
สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Incentives ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ -> Maverick’s incentive mechanisms
เหรียญ $MAV เอาไว้ทำอะไร?
Maverick Protocol Utility Token
$MAV เป็นยูทิลิตี้โทเค็น (native utility token) ของระบบนิเวศ Maverick ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการ staking, voting (โหวต), และ boosting (ส่งเสริม) เป็นหลัก.
Voting Escrow (ve) contract เมื่อผู้ใช้ฝากหรือ stake โทเค็น $MAV จะได้รับ $veMAV ซึ่งเป็นสัญญา Origin ve contract ที่ถูกตรวจสอบแล้วโดย Open Zeppelin.
โทเค็น $veMAV (Power Token) เอาไว้โหวตลงคะแนนในการพัฒนาระบบนิเวศโปรโตคอล Maverick หรือ governance proposals ต่าง ๆ ดังนั้นยิ่งเราฝากหรือ stake $MAV นานเท่าไหร่ยิ่งได้สิทธิ์ได้เสียงมากขึ้นเท่านั้น (รับ $veMAV มากขึั้น).
ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ Maverick Protocol Utility Token: MAV, Research.binance.com
Maverick Protocol Distribution Mechanism
(การกระจายเหรียญ $MAV)
Maverick ระดมทุนได้ 17,460,000 $USD จากการขายโทเค็น private sales ทั้งหมด 3 รอบ โดยขายโทเค็นจำนวน 360,000,000 เหรียญ ในราคาอยู่ที่ 0.1 USD/MAV จาก Token Supply ทั้งหมด 2,000,000,000 MAV.
Ticker | MAV |
---|---|
Token Type | ERC-20 |
Initial Circ. Supply When Listed on Binance | 250,000,000 MAV (12.50% of total token supply) |
Total and Maximum Token Supply | 2,000,000,000 MAV |
Binance Launchpool Allocation | 30,000,000 (1.50% of total token supply) |
Binance Launchpool Start Date | June 13th 2023 |
สำหรับผู้ที่สนใจ Maverick Protocol สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้นี้
- Whitepaper by Maverick Research Team
- Maverick AMM
- Maverick Blog
- Maverick Documentation
- Manage a Boosted Position
- Defillama
COMMUNITY
Twitter: @MAVPROTOCOL
Discord: DISCORD.GG/MAVPROTOCOL
Telegram: @MAVERICK_PROTOCOL
CO-FOUNDER of Maverick /Contributor
Alvin Xu, Contributor @Maverick Protocol
ex: Chief Executive Officer @ Ubiquity Lab, Product @ MetaMask by ConsenSys, Product Lead @ ABRA Networking Association, Product Manager @ BitTorrent, Inc., Ecosystem Building @ Tron Foundation.
Bob Baxley, Chief Technology Officer @Maverick Protocol
ex: Principal @ Zylinium, Co-Founder @ Bastille Networks Internet Security, Co-Founder Chief Technology Officer @ Bastille Networks Internet Security, Extended Team Member @ Ubiquity, Ventures Co-Founder, Board Member @ Anidata Adjunct Faculty – School of ECE @ Georgia Institute of Technology Director, Software Defined Radio Laboratory @ Georgia Tech Research Institute Senior Research Engineer @ Georgia Tech Research Institute Research Engineer II @ Georgia Tech Research Institute.
Matthew Taylor, Project Manager @Maverick Protocol.
Project Name: Maverick Protocol
Project URL: https://www.mav.xyz
BACKED:
Pantera Capital, Altonomy, Circle Ventures, CMT Digital, Coral Ventures, Gemini Frontier Fund, GoldenTree Asset Management, Jump Crypto, LedgerPrime, Spartan Group, Taureon และ Tron Foundation.
source:
Maverick Protocol Performance:
@mati / maverick protocol
@zfreddyy / Maverick Protocol
Maverick Protocol: Capital Efficiency and Concentrated Liquidity
Maverick the Future of LST-based Ecosystem
คำปฏิเสธ (นี่ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน)
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในบทความ ผู้เขียนเผยแพร่โดยสุจริต และเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การดำเนินการใดๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการกับข้อมูลที่พบในบทความถือเป็นความเสี่ยงของตนเอง นะครับเนื้อหานี้ได้อ่าน ความคิดเห็น และข้อความที่แสดงในที่นี้เป็นของผู้เขียน โปรดรับทราบว่าการลงทุนของคุณอยู่ในความเสี่ยงของคุณเองและการสูญเสียใดๆ ที่คุณอาจต้องรับผิดชอบนั้นเป็นความรับผิดชอบของคุณ ครับ.