เลือก Vendor ดีมีแต่ “กำไร” เลือกยังไงไม่ให้ “ขาดทุน”

เลือก Vendor ดีมีแต่ “กำไร” เลือกยังไงไม่ให้ “ขาดทุน”
หลายคนเริ่มกังวลเวลา เริ่มต้นโปรเจคใหม่ ๆ เป็นอะไรที่ง่ายมากครับหากองค์กรคุณต้องการผลิตภัฑณ์ระดับ Enterprise-grade (ควรค่าแก่การอ่านให้จบ)

แน่นอนสไตย์การเขียนเนื้อหาแอดยำแซ่บเข้าด้วยกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำครับ 55++

ลักษณะธุรกิจ IT ในประเทศไทย

ภาพรวมโครงสร้างกลุ่มธุรกิจไอทีในบ้านเราแอดแบ่งธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ

  • กลุ่มคอนซูเมอร์ (Consumer)
  • กลุ่มคอมเมอร์เซียล (Commercial)
  • กลุ่มโซลูชัน (IT Solution)

#1: กลุ่มคอนซูเมอร์

เป็นบริษัทไอทีที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ขายตรงไปยังผู้บริโภค (คอมซูเมอร์) พ่อค้าแม่ขายซื้อมาขายไป ผลิตภัณซ์ที่จัดจำหน่าย อาทิเช่น อุปกรณ์ Desktop PC, Tablets, Monitor, Printer, Network, Server, Software, Storage เป็นต้นครับ

#2: กลุ่มคอมเมอร์เซียล

ลักษณะธุรกิจคือ เป็นบริษัทค้าส่งสินค้าไอที เรียกคูลๆ ดิสทริบิวเตอร์ (IT distributor) ผู้จัดจำหน่ายโดยมีช่องทางการขายไปยังตัวแทนจัดจำหน่าย (Reseller) หรือซัพพลายเออร์ (2B2) โดยดิสทริบิวเตอร์จะมีเครือข่ายครอบคลุมการขายทั่วประเทศอยู่แล้วครับ ฮอตฮิตติดลมบนหน่อยก็เช่น อุปกรณ์ CCTV, อุปกรณ์ Router WiFi แทบจะบอกได้ว่าหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อครับ

#3: กลุ่มโซลูชัน

เป็นบริษัทไอทีที่ดำเนินธุรกิจด้านเอนเตอร์ไพรส์ซิสเตมส์โดยเฉพาะ บริษัทลักษณะนี้เราเรียกว่า IT Vendor หรือคูลๆ ก็ IT Solution (อย่าพึ่งไปสับสนระหว่างบริษัทที่เป็น Our Source นะครับ) ลักษณะธุรกิจ ก็เช่น ออกแบบ/รับวางระบบและติดตั้ง-ไปจนถึงบำรุงรักษาระบบ, System Integration (SI) พร้อมให้คำปรึกษา (IT Solution) ผลิตภัณฑ์ที่จำจำหน่าย อาทิเช่น Cisco, Juniper, Aruba, Bluecoat, F5, Fortinet, Palo Alto Networks, HPE, IBM, DELL EMC เป็นต้น 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น องค์กรจะใช้ระบบ ERP
Project ERP; เรื่อง requirement ซอฟต์แวร์เราจะไม่พูดถึงเพราะถือว่าตัดสินใจเลือกมาแล้ว
แอดจะเล่าในฝั่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และคนที่จะมาอิมพลีเม้นท์…

ถ้าว่าจ้างกลุ่ม IT Solution ก็ง่ายครับ (เตรียมควักเงินจ่าย) บริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้เขามีพาร์เนอร์อยู่แล้ว เดี๋ยวเขาไปจัดหาอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Server, Storage, Network มาให้เราพิจารณาเองครับ หน่วยงานไอทีในองค์กรมีหน้าที่เปรียบเทียบดูในเสนอราคาและคุณสมบัติอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้! 

คีย์ที่แอดใช้มาตลอดคือ…

1. จัดลำดับความสำคัญให้ได้ ว่าสิ่งไหนไม่ควรทำ
(ย้ำ! ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ)

เช่น เทรนิ่งระบบ หาก Vendor ที่อิมพลีเม้นท์ระบบให้ Item No. ในใบเสนอราคา ควรมีการเทนนิ่งระบบให้เจ้าหน้าที่ในองค์กร หรือ Docs ก็จำเป็น (ประมาณว่าถ้าไม่ต่อ MA คุณไม่อยู่คนในทีมทำแทนได้)

แต่หากว่าคุณรู้เรื่องระบบ คอนฟิกเองได้ก็ตัดเรื่อง Setup ออกครับ ลด cost ได้เยอะ
หากเป็น Step นี้แนะนำให้คุณซื้ออุปกรณ์ตรงกับดิสทริบิวเตอร์เลยครับ (ไม่ได้บอกว่าต้องเลือกรายใหญ่ Top 10 ในประเทศ) ส่วนตัวแอดชอบรายเล็ก ๆ ดิวงานง่ายกว่าครับ แต่ถ้าดิสทริบิวเตอร์รายใหญ่ คุณ contact ตรงเลยครับ Tel/Email ถ้าบริษัทคุณใหญ่ Word World company (คุยขายบริษัทตัวเองให้เป็นให้คนโทรกลับ) คนรับสายไม่ปล่อยให้เบอร์ที่คุณโทรเข้ามาตกไปถึง Reseller หรอกครับ (เก็บเองได้โปรไฟล์) ^^

2. อะไรที่ทำเองได้ไม่ต้องทำ! 

เรื่องบางเรื่องคุณไม่ต้องไปลงมือทำก็ได้ คุณมีหน้าที่แค่ประสานงานให้ Vendor/Suppliers หรือให้ Our Source/developer ทำงานได้อย่างราบรื่น จากประสบการณ์ Vendor จะทำงานได้เกินมาตราฐานเมื่อคุณรู้จักโน้มน้าวใจพวกเขาและ Vendor ที่ฉลาดจะฟังมากกว่าพูดโชว์ซูโลชันให้คุณเปลี่ยนนั้นเปลี่ยนนี่ครับ (ทั้งที่บริษัทกูไม่มีตังค์ 55++)

3. ปรึกษาหัวหน้าและนำเสนอทีมเสมอ

ย้ำชัดๆ ตรงนี้ครับ ระบบงานที่เป็น core system ต้องผ่านการเห็นชอบของทีมผู้บริหารก่อนเสมอ
เรื่องบางเรื่องเราก็อาจจะไม่ได้รู้! หากใครมีหัวหน้าขี้เกลียดๆ ยิ่งดี! มุมมองวิธีเขาจะแตกต่างเช่น เป้าหมาย คือ เชียงใหม่คุณไม่ต้องไปคิดเองประหยัดตังค์นังรถทัวร์ ขับรถไปเองหัวหน้าจะบอกว่า…นั้งเครื่องบินไปเสร็จแล้วรีบกลับ (เมีย ลูก รออยู่ 55+++)

คนฉลาดอย่าง บิล เกตส์ ยังเคยบอกไว้ว่า เขาจะเลือกคนขี้เกียจมาทำงานที่ยากที่สุด เพราะคนพวกนี้จะพยายามหาหนทางที่ง่ายที่สุดทำให้งานสำเร็จลุล่วง สิ่งอำนวยความสะดวกส่วนใหญ่ต่างก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพราะความขี้เกียจทั้งนั้น

อ่อ ๆ กลุ่มธุรกิจที่ทำตั้งแต่ต้นน้ำ (นำเข้า) จนส่งไปปลายน้ำ (คอนซูเมอร์, คอมเมอร์เซียลและโซลูชัน) ก็เช่นบริษัท Value Systems (ชื่อใหม่ VST ECS) ครับ แอดหวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านนะครับ

Scroll to top