Containers vs. Web hosting อนาคตระบบคลาวด์ Hosting Server ที่ทันสมัยที่สุดสำหรับโซลูชัน Web server stack

Hosting เซิร์ฟเวอร์ ในประเทศไทย มันไม่ดี/ไม่เสถียร! (จริงหรือ???) ทำไม Developer ถึงเลือก Hosting ต่างประเทศ?

📣 คำเตือน: (โพสนี้แอดเองไม่ได้ค่าแนะนำใดๆ ทั้งสิ้น)
คำว่า “ไม่ดี” หรือ “ไม่เสถียร” แล้วเรารู้วิธีเพิ่มประสิทธิภาพเว็บเพื่อผลลัพธ์ที่ดีแล้วหรือยัง? หรือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกแล้วหรือยัง?

สำหรับท่านที่วิเคราะห์ดีแล้ว โพสนี้ก็ถือว่าอ่านเสริมๆความรู้ล่ะกันนะครับ เนื้อหายาวหน่อย แต่ถ้าทานใดยังไม่แน่ใจกับคำว่า “ไม่ดี” vs. “ไม่เสถียร” เป็นไปได้ช่วยแบ่งเวลาอ่านโพสนี้…

โพสนี้แอดจะชวนคุยเฉพาะประเด็นสร้างเว็บด้วยแอพพลิเคชั่น WordPress + WooCommerce เป็นหลักนะครับผม
ก่อนจะเล่าต้องออกตัวก่อนว่า แอดก็พอมีประสบการณ์อยู่บ้างก็คลุกคลีด้านเว็บมามากกว่า 10ปี (Inbound Content)
เดี๋ยวๆๆๆ อย่าพึ่งคิดว่าแอดเป็น developer หรือ content marketing น่าา 😄

ก็เริ่มตั้งแต่สมัย Joomla ที่ Hot สุดๆ และแอดก็ไม่ชอบ WordPress (ไม่มีเหตุผล 55++) แต่หาก Zero ก็โน่นแหละ HTML, PHP 😄

เมื่อก่อนจุดเริ่มต้นเคยคิดว่า WordPress มันก็เป็นเพียงแค่ซอฟต์แวร์เว็บเขียนบล็อก เป็นเพียง CMS ธรรมดา ๆ ตัวหนึ่งเท่านั้น community ในไทยน้อยมากหากเทียบกับ Joomla ครับ
แน่นอนว่าลำดับแรก ๆ จุดเริ่มต้นการสร้างเว็บสำหรับทุก ๆ คนก็คงหนี้ไม่พ้นการเลือก Web Hosting สำหรับฝากไฟล์เว็บ และตัวเลือก plan ที่ดีที่สุดของหลาย ๆ คน คือเริ่มควักตังค์จ่ายค่าโฮสติ้งจากบริการ Shared Hosting ที่เป็นเว็บโฮสต์ที่ใช้ร่วมกัน และขยับอัปเกรดมาเป็นระดับ VPS และ Cloud server ….

จากจั่วหัวว่า..มันไม่ดี/ไม่เสถียร!

เหตุผล 4 ข้อที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด ในการตัดสินใจย้าย Hosting เซิร์ฟเวอร์

1. เซิร์ฟเวอร์ล่มบ่อย (ส่วนใหญ่ Network Infra มีปัญหา)
2. Support ช้า
3. เทคโนโลยีไม่อัพเดต
4. scale ไม่ได้ เซิร์ฟเวอร์ resource ถึงทางตัน

จากประสบการณ์ส่วนตัว หากให้แอดแนะนำ Hosting ในประเทศไทยย้ำนะครับว่าจากประสบการณ์ส่วนตัวแนะนำเลย Ruk-Com, CloudRambo และ Bangmod และอีกรายก็คือ AppServ ครับ

รายสุดท้ายอารมณ์ประมาณว่า จะขอเป็น Shared Server ที่เสถียรตลอดไป 55+

ส่วนผู้ให้บริการ 3 รายแรก มี plan อัพเดตให้บริการในระดับ VPS ที่ผู้ใช้สามารถเลือก CPU / RAM / DISK ได้ตามต้องการ หรือจะเช่าซื้อ Dedicated เซิร์ฟเวอร์ก็ได้ (วางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ Data Center)

จากทั้ง 4 ผู้ให้บริการที่กล่าวมา ค่าใช้จ่ายจะตกปีล่ะ 1-2 พันบาท สำหรับบริการแบบ Shared Server และแบบ VPS จะเริ่มต้นเดือนล่ะ 300บาท. – ไปจนถึงหลักหมื่นบาทต่อเดือน

Containers vs. Web hosting อนาคตระบบคลาวด์ Hosting Server ที่ทันสมัยที่สุดสำหรับโซลูชัน Web server stack

🔥 VPS กับ Container-based
VPS (vitual private server) ที่ใช้ software virtualization ในการแบ่ง hardware resources บน cloud network

แต่หากเป็น VPS container-basedคือ VPS ที่ใช้ runtime engine ขี่รัน on top อยู่บน virtualization อีก Layer เช่น KVM เป็นต้น

สำหรับ VPS ปกติสร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์ virtualization เช่น VMware, Microsoft Hyper-V, Virtuozzo/OpenZV, Parallels, Citrix XenServer, KVM และจุดเด่นของ VPS คือมันรันอยู่บน dedicated server ใน Data Center และมีเครื่องมือการจัดการในการแบ่ง hardware resources เป็นอย่างดี

เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้เว็บเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ เครื่องสามารถประมวลผลเว็บขนาดใหญ่ ที่ใช้ซีพียูแบบมัลติคอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ทรัพยากรร่วมกันบนเว็บโฮสติ้ง
สำหรับ Linux VPS ผู้ให้บริการ web hosting จะรัน KVM, Xen, หรือ Virtuozzo/OpenVZ

สำหรับ Windows VPS ผู้ให้บริการจะอิมพลีเม้นท์โซลูชันบน VMware, Parallels, Microsoft Hyper-V เป็นต้น
แน่นอนว่า VPS มันแชร์ OS kernel resources และ virtual drivers ระหว่าง VPS partition บน hardware เดียวกัน(แชร์ CPU/RAM/DISK) แต่ใช่ว่าจะ request ไม่ได้นะครับสามารถ dedicated CPU cores, RAM, SSD storage, หรือ bandwidth ต่อเดือนได้

สำหรับ Containers-based จะใช้ runtime engine อาทิเช่น Docker, rkt, LXC/LXD และ Hyper runV เป็น virtualization ที่ขี่อยู่บน (on top) host operating system อีกทีครับและแนะนำจุดเด่นของ Container คือ OS load ได้เร็วกว่า VPS หรือ VMs มากกว่า 10ถึง100 เท่า (ขึ้นอยู่กับ storage size) และข้อสงเกตอีกอย่างหนึ่งคือ “คิดเงินตามการใช้งานจริง”

หากจะในสรุปก็คือ KVM, OpenVZ/Virtuozzo, Xen, และ SolusVM จัดว่าเป็น popular Linux ซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่นิยมใช้สำหรับ VPS management บนธุรกิจ web hosting มากที่สุดก็ว่าได้ครับ เมื่อ virtualization มาคั่นมันถึงเกิดเป็นโซลูชัน Cloud + HA ที่ไม่มีคำว่า “ล่ม” และ uptime 100% !!

และ Kubernetes, RancherOS, CoreOS, RHEL และ SUSE Linux ล้วนเป็นผู้นำโซลูชันคอนเทนเนอร์สำหรับการจัดการศูนย์ข้อมูลบนคลาวด์ OpenStack ครับ

สำหรับใครที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้อยากให้แชร์เห็ตผลกันมาหน่อยว่าเหตุผลอะไรทำให้ตัดสินใจย้าย Hosting
คราวนี้ขยับไปทางฝั่งต่างประเทศกันบ้างครับ
ผู้เล่นในต่างประเทศที่ Developer บ้านเราเลือกก็อาทิ เช่น SiteGround, DigitalOcean, SpinupWP, Google Cloud, AWS หรือรวมไปถึง managed hosting แพลตฟอร์ม อาทิ LiquidWeb CloudSites ที่พัฒนาโดย Rackspace และ GridPane เป็นต้น

สำหรับ Amazon Lightsail เหมาะสำหรับสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องการ provision อาจเลือกใช้ AWS EC2 และ Google GCE โดยทำการ provision ผ่านแพลตฟอร์ต GridPane หรือ Cloudway ราคาพอๆ กับ Digital Ocean ครับ

✍️ note: EC2 และ GCE เป็น Virtual Machines (VMs) ไม่ใช่ Container-based

เหตุผล 3 ข้อที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด ในการตัดสินใจเลือกใช้ Hosting เซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศ

1. Cloud infrastructure (Virtualized Server)
ไม่ใช่แค่วางเครื่องเซิร์ฟเวอร์บน Data Center แต่ระบบเป็น Cloud infrastructure ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์กระจายอยู่ใน Data Center โซนประเทศอื่น ๆ

ด้วย Cloud infrastructure ทำให้ระบบสามารถ Scale ได้ทั้งในแบบ Vertical Scaling (เพิ่ม CPU/RAM/DISK) และแบบ Horizontal Scaling ได้ (เป็นการเพิ่มเครื่อง instance)

2. ราคา
ราคาพอ ๆ กับ Hosting ในประเทศไทย

3. ความน่าเชื่อถือ (แบรนด์)
แบรนด์ สิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ของลูกค้า (เร็วและเสถียร) ซึ่งภาพรวม Hosting จะไม่ใช่แค่ Web Hosting แต่มันเป็น Platform Hosting ที่ปรับจูนทั้ง optimized และ High-performance และบริการ Support ที่ Hosting provider ย่อยโซลูชันออกมาให้ผู้ใช้ได้จิบจับได้ง่าย เช่น – WordPress Hosting- WooCommurce Hosting- Cloud Hosting เป็นต้น

จากทั้งหมดที่แอดกล่าวมาก็เป็น Hosting Server และ VPS ที่นิยมใช้ในประเทศไทยนะครับ

สรุปและคำแนะนำ:

เมื่อปริมาณการใช้งานเว็บเพิ่มขึ้น…และเพื่อรองรับผู้เยี่ยมชมที่มากขึ้นหรือพบว่ามีปริมาณการสืบค้นฐานข้อมูลมากขึ้น
นั้นแหละเวลาที่ใช่ ที่จะย้ายจาก VPS มาใช้ Container-based ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์คลัสเตอร์ สำหรับ Web server stack ให้กับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณ! พร้อมสนับสนุน CI/CD สำหรับ developer.

Infra Stack สำหรับเว็บแอพพลิเคชัน มันเลยวาดภาพออกมาเป็นแบบนี้ครับ

Physical -> Virtualizaiton -> Container -> App

ที่มา:
Amazon Lightsail: ////aws.amazon.com/lightsail/
Google Compute Engine (GCE): ////cloud.google.com/compute
////hostadvice.com/hosting-guides/containers-vs-vps-hosting/
#GCE #Lightsail #HostingServer #CloudHosting

Leave a Reply

Scroll to top