SDN Controller กับ Datacenter ที่เปลี่ยนไป

SDN Architecture คือสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลที่กำหนดค่าผ่านซอฟต์แวร์ ที่มีอินเตอร์เฟซเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถควบคุมการเชื่อมต่อทรัพยากรเครือข่ายและการไหลของข้อมูลในเครือข่ายไปพร้อมๆกับการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของการจราจรข้อมูลที่เกิดขึ้นในเครือข่าย หรือควบคุมเครือข่ายบนสภาพแวดล้อมการประมวลผลแบบเสมือน โดยไม่ต้อง ไปยุ่งยากกับอุปกรณ์เครือข่ายในระดับฮาร์ดแวร์ครับ.

เทคโนโลยีหนึ่ง คือ SDN (Software-Dened Networking) เป็นแนวคิดในการนำซอฟต์แวร์ไปจัดการและควบคุมระบบเครือข่าย เป็นการบริหารจัดการเครือข่ายในระดับของซอฟต์แวร์ แทนการบริหารจัดการแบบดั่งเดิมที่จัดการในระดับฮาร์ดแวร์

SDN Controller เป็นตัวกลางในการแปลงความต้องการจากชั้น SDN Application Layer เพื่อส่งต่อไปยัง Data layer ชั้นล่างถัดไป


credit image: SDN Architecture

จากระบบ Infrastructure ภายใน Datacenter สู่การให้บริการ PaaS

ในยุคดิจิทัลที่ Application ต้องการความคล่องตัวและระบบต้องการทำงานอัตโนมัติ ซึ่ง SDN Architecture คือสถาปัตยกรรมนี้ตั้งอยู่บนหลักการ 3 อย่างที่สำคัญคือ

  1. การประมวลผลการรับส่งข้อมูลและการควบคุมเครือข่าย
  2. ควบคุมจากศูนย์กลาง (ควบคุมการทําางานของระบบเครือข่ายอัตโนมัติจากจุดเดียว)
  3. และที่สำคัญกว่านั้นคือโปรแกรมสั่งงานได้ผ่าน API คือความสามารถในการเขียนโปรแกรม จัดการของบริการเครือข่าย

SDN (Software-Defined Networking) ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Datacenter หรือโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (Datacenter network architecture based on SDN)

เป้าหมายของ SDN คืออะไรกันแน่?

การช่วยให้ผู้ที่เป็น network engineer และ cloud architect สามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ (สร้าง Server หรือ Compute ได้ภายในไม่กี่นาที)

ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมเครือข่าย Datacenter ที่ใช้ SDN?

credit image: @bmc.com – Data Center and Cloud Networking
  1. เป็นเครือข่ายที่ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าได้ผ่านการตั้งโปรแกรม เช่น สั่งงาน Network ผ่าน API แพลตฟอร์ม OpenStack
  2. Ecosystem แบบเปิด ความคล่องตัวในการใช้งาน ผ่านมาตรฐาน API
  3. Centralized Operation เป็นระบบที่มีการบริหารจัดการจากศูนย์กลาง
    ไม่ว่าจะเป็น Policy หรือการออกแบบเส้นทางของ Network
  4. ค่าใช้จ่ายที่ลดลง หรือ CapEx Reduction เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ราคาแพง5. รองรับการใช้งานเครือข่ายที่หลากหลายเช่น การกำหนดค่าเครือข่ายแบบไดนามิก เพื่อรองรับหรือกำหนดปริมาณการใช้งานสำหรับลูกค้า

📣 รู้หรือไม่: CapEx ไม่ใช่ OpEx OpEx เป็นรูปแบบการเช่าใช้จ่ายและคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงโดยมีทีมงานจากภายนอกมาช่วยดูเครือข่ายครับ (IT Outsourcing)

เราทุกคนกำลังอยู่ในยุคที่ท้าทายมากที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาตร์ เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้างในอนาคตครับ ไม่ต้องคิดไปไกลถึงรุ่นลูก… เอาแค่อีก 3-5 ปีข้างหน้า เรายังคาดเดาลำบากเลย จริงไหมครับ

เพราะชีวิตการทำงานในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย‼️ ไม่ใช่แค่เด็กจบใหม่เท่านั้นที่รู้เรื่อง Cloud ☁️ แม้แต่คนที่ทำงานมานานแล้วหลายปีที่ไม่ Reskill ก็อาจพบว่าโลกของการทำงานในยุคนี้ “อยู่ยากกว่าที่เคย” ตามเด็กจบใหม่ไม่ทัน…

“การปรับตัว” เพื่อ Reskill / Upskill พัฒนาทักษะของตัวเองให้มากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ควรทำครับ เพื่อก้าวสู่การเป็น “คนทำงานคุณภาพ” ในยุค Cloud ☁️

โปรด Order อีบุ๊คบันทึกลับนี้อ่านเพราะไม่มีงานมันน่ากลัว” เผยเคล็ดลับปรับตัวเป็นคนทำงานคุณภาพในยุค ☁️ พร้อมเทคนิคการประสบการณ์ทำงานจริงๆ และปรับใช้ได้กับองค์กรขอบคุณครับ

👨‍💻 Cloud web hosting / Google data studio ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป…เนื้อหาสุดเข้มข้น แม้ไม่มีพื้นฐานก็เรียนรู้ทำตามได้ เพราะคำว่า “ทักษะ” นั่นสามารถพัฒนากันได้ครับ
สั่งซื้อออนไลน์ ได้เลยที่นี่: https://www.suseman.com/shop/ebooks/

source:
[1] SDN Architecture Document 1.4 – Open Networking Foundation
[2] Overlay-Based SDN

Scroll to top