จุดเกิดเหตุ: เมื่อผู้ใช้งานมีจำนวนมากบน Ethereum Blockchain สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ โครงสร้างพื้นฐาน Ethereum มันไม่สามารถรองรับการทำธุรกิจกรรมที่มหาศาลได้
ทำธุรกรรมช้า บวกค่า Gas แพงโครต (เหมาะกับคนเทรดหนักๆ ใช้หลายๆ DEX พร้อมๆ กัน ^^)
ประเภทของ L2 Solutions (หรือ Framework) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
- On-Chain Scaling
- Off-Chain Scaling
On-Chain Scaling กับOff-Chain Scaling ต่างกันยังไง?
On-Chain Scaling เป็นการกระจายธุรกรรมแบบขนานไปกับ Main chain โดยผู้ตรวจสอบแต่ละรายไม่ต้องดำเนินการธุรกรรมทั้งหมดจากทั้งเครือข่ายทุก Node ทั่วโลก (วิธี Sharding)
Off-Chain Scaling เป็นแบบยืนยันธุรกรรมบน Mainnet Layer-1
Off-Chain แบ่งเป็น 3 แบบ
- State channels
- Custodial Sidechains
- Non-Custodial Sidechains
Note: สำหรับโพสต์นี้จะเล่าเฉพาะ Non-Custodial Sidechains นะครับ
Non-Custodial Sidechains จะมี Pollups กับ Plasma แบ่งออกเป็น 2 แบบ
- ยังต้องพึ่งการยืนยันธุรกรรมบน Mainnet Layer-1
- และแบบยืนยันธุรกรรมบน Blockchain ใหม่
1. Off-Chain protocol แบบยืนยันธุรกรรมบน Mainnet Layer-1
เป็นการแบ่งแยกออกจาก Layer-1 mainet (อย่าง Ethereum ไม่ต้องแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น) แต่ Layer-2 Off-chain protocol ก็เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการ scaling เช่น การลดความแออัดของเครือข่าย, เพิ่มธุรกรรมต่อวินาทีให้เร็วขึ้นและค่าใช้จ่ายให้ลดลงเอง ที่ได้รับความนิยมก็เช่น Rollups
- ROLLUPS แบ่งได้อีก 2 ประเภท (การทำธุรกรรมผ่าน Layer 2)
1.1 ZK-Rollup
เป็นการทำธุรกรรมแบบ off-chain และมีการยืนยันธุรกรรมบน Validity proof ใน Main chain
ตัวอย่าง Protocol ก็เช่น
- Aztec (aztec.network)
- Loopring (LRC)
ผู้เล่นที่ใช้ ZK technology หรือ zk-SNARKs validity proof ก็เช่น
- HORIZEN
- Hermez Network ล่าสุดถูก Polygon ซื้อไปแล้ว (ถูกควบรวมกิจการ)
1.2 OPTIMISTIC-Rollup
จะยืนยันการทำธุรกรรมว่าถูกต้องตามค่าเริ่มต้น และผ่าน Fruad proof
ผู้เล่นรายใหม่ ก็เช่น โปรโตคอล
- Fuel Network (fuel.sh)
- CARTESI (CTSI)
- Arbitrum (OFFCHAIN LABS)
2. PLASMA
เป็น blockchain ใหม่ที่แยกออกจาก Ethereum mainnet โดยใช้ Fraud proofs ความโดนเด่นของโปรโตคอลคือ ทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและค่าใช้จ่ายที่ลดลง (ค่าแก๊ส)
ผู้เล่นหน้าใหม่ ก็เช่น โปรโตคอล
- GLUON Network (Leverj Gluonฉ
- leverj CEX
- GAZELLE (gzle.io)
เจ้าตลาดก็เช่น OMG และ Polygon เป็นต้น
และสุดท้ายประเภท HYBRID (Other-Chain scaling) และ Cross-Chain
ก็เช่น โปรโตคอล Celer Network (CELR token)
Cross-Chain คือการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมข้ามกันระหว่าง Blockchain หลายๆ ตัว
ทิ้งท้าย Cross–Chain จะกลายเป็น Infrastructure สำคัญต่อ Blockchain ในยุค Mass Adoptionในรายละเอียดแต่ล่ะโปรโตคอลอยากให้ไปศึกษาเพิ่มเติมนะครับ
คำปฏิเสธ
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในบทความ ผู้เขียนเผยแพร่โดยสุจริต และเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การดำเนินการใดๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการกับข้อมูลที่พบในบทความถือเป็นความเสี่ยงของตนเอง นะครับ
เนื้อหานี้ได้อ่าน ความคิดเห็น และข้อความที่แสดงในที่นี้เป็นของผู้เขียน โปรดรับทราบว่าการลงทุนของคุณอยู่ในความเสี่ยงของคุณเองและการสูญเสียใดๆ ที่คุณอาจต้องรับผิดชอบนั้นเป็นความรับผิดชอบของคุณ ครับ