สำหรับคนที่อยู่ในวงการไอทีมายาวนานจะเห็นได้ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติเมื่อ big vendor เข้าซื้อบริษัทซอฟต์แวร์
IBM เข้าซื้อ Red Hat ตั้งแต่ปี 2018 และอย่างที่เราทราบธุรกิจคลาวด์ของ IBM ก็ไม่ได้โดนเด่นโตไปไกลมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งในวงการ เช่น AWS, Google และ Microsoft ครับ.
บริษัท Red Hat ไม่ได้มีแค่ลินุกซ์
หากว่าเราพูดถึง “Red Hat” คนส่วนใหญ่ภาพในหัวคงคิดถึง “ลินุกซ์ Red Hat”
แต่รู้มั้ยครับว่า จริง ๆ แล้วบริษัท Red Hat เค้ามีผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์อื่น ๆ มากมาย
แต่ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือลีนุกซ์ดิสโทร Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ครับ
ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์อื่น ๆ เช่น
- Red Hat OpenStack: ดิสโทร OpenStack สำหรับสร้างคลาวด์ในองค์กร
- Ansible: ซอฟต์แวร์สำหรับคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์และทำ automation
- Gluster / Ceph: ซอฟต์แวร์สำหรับทำสตอเรจแบบ Software-defined
- Red Hat OpenShift: ดิสโทร Kubernetes สำหรับรันแอพพลิเคชันบนคลาวด์ PaaS
หลาย ๆ คนน่าจะได้ตามข่าวกันแล้วว่าโครงการลีนุกซ์ดิสโทร CentOS จะเปลี่ยนมาโฟกัสที่รุ่น CentOS Stream แทน ซึ่งเรื่องนี้เป็นอะไรที่หือหาในวงการผู้ใช้ลีนุกซ์เป็นอย่างมาก (ระดับเปลี่ยนวงการผู้ใช้ CentOS ในการทำมาหากินเลยก็ว่าได้ครัช)
สิ่งที่หลาย ๆ คนเป็นกังวลคือ เวอร์ชั่น CentOS 8 ที่ออกมาตั้งแต่ 24 กันยายน 2019 กำลังจะถูกทิ้งในสิ้นปีหน้านี้ (2021) แต่หากดูจาก Lifecycle (EOL) ของเวอร์ชั่น CentOS 7 จะเห็นได้ว่ายังเหลือระยะเวลา Support ไปถึงเวลาปี 2024 ครับ
อย่างที่เราทราบกันว่า CentOS เป็นดิสโทรที่ rebuild จากรุ่นเถียรคือ RHEL8 (Red Hat Enterprise Linux) แม้ว่า CentOS จะออกช้ากว่า RHEL อยู่ 2-3 เดือน (มาช้ายังดีกว่าไม่มา) แต่ด้วยมันเป็นลีนุกซ์ดิสโทรโอเพ่นซอร์สที่โคลนจาก RHEL จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้ดูแลระบบและผู้ประกอบการสายนำโอเพ่นซอร์สมาสร้าง value อิมพลีเม้นท์ Solution ให้กับลูกค้าครับ
คำถามในหัวของ System Administrator (ผู้ดูแลระบบ) ทำไงหากขึ้น production แล้วพบบั๊ค (bugs) งานเข้าไหมสำหรับ vendor ที่ออกใบเสนอราคา CentOS 8 + MA Support แล้วแพตซ์ไม่ได้!
ก้าวแรกที่ต้องเสี่ยง! CentOS Stream ไม่มีความเสถียรจริงหรือ?
ปัญหามันอยู่ตรงนี้แหละครับ คือตัว CVE (Common Vulnerabilities and Exposures) ที่เป็นรายงานบั๊คที่ตรวจพบเจอะแล้วบน RHEL เดิมที่หากเราใช้ RHEL เมื่อเจอะบั๊คแล้ว submit วิศวะกรจะแก้บั๊คบน core ดิสโทร Fedora ที่เป็นดิสโทรสำหรับทดสอบ เมื่อแก้เสร็จก็ออกแพตช์ให้กับ RHELจากนั้นก็รอไปอีก 2-3 เดือน ดิสโทร CentOS ถึงจะได้รับการแพตช์หรืออัพเดตตามมาครับ
ดังนั้น CentOS Stream จะเป็นซอฟต์แวร์ packages เวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า RHEL เสมอ (เป็นรุ่นถัดไปของ RHEL)ประเด็นคือแต่เมื่อใช้แล้วเจอะบั๊ควิศวะกรจะแก้ไขบั๊คที่ RHEL ให้เสร็จก่อน! แล้วค่อยส่งแพตช์กลับมาแก้ไขที่ CentOS Stream ในทีหลังครับ
(ความหมายก็คือ หากจะพูดว่า CentOS Stream เป็นดิสโทรทดลองใช้ มากว่าเป็นรุ่นเสถียรก็คงไม่ผิด!)
If you’re a technology enthusiast, early adopter, or power user, this version is for you!
หากคุณเป็นผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ CentOS Stream รุ่นนี้เหมาะสำหรับคุณ!
ซึ่งต่างจาก openSUSE project ที่มีสองดิสโทรทั้ง Leap และ Tumbleweedซึ่ง Tumbleweed เป็นรุ่นที่ผ่านการทดสอบอย่างสมบูรณ์และได้กลายเป็นต้นน้ำสำหรับดิสโทร SUSE Linux Enterprise (SLE)และในทางกลับกันรุ่น LEAP เป็น based on ของรุ่น SUSE Linux Enterprise (SLE) ที่เสถียรแล้ว
และทำงานเข้ากันได้กับ SLE อย่างสมบูรณ์ครับ ข้อดีคือผู้ใช้สามารถย้ายไปมาระหว่าง SLE 15 และ LEAP 15 ได้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนเพราะ openSUSE LEAP และ SUSE Linux Enterprise (SLE)
มัน build จาก Tumbleweed ครับ
แต่หากต้องการ commercial support ก็เลือก Red Hat Enterprise Linux และ SUSE Linux Enterprise ครับ
การเลือกใช้ลีนุกซ์ดิสโทร ส่วนตัวมองว่าหากเราคิดว่าเอามันอยู่ และมีทักษะในการจัดการการปรับใช้ลีนุกซ์ก็เลือกดิสโทรไหนก็ได้ครับ (เช่น Ubuntu, Debian, ฯลฯ) หรือผู้ใช้ CentOS ยังมีอีกทางเลือกก็คือ สามารถย้ายไปที่ Oracle Linux (รากฐานจาก Red Hat Enterprise Linux) หรือเปลี่ยนภูมิลำเนาไป SUSE เลยก็ได้ ฮ่าๆๆๆ
ข่าวดี! คือ มีคน Fork ดิสโทร CentOS ออกมาเป็นดิสโทรใหม่ในชื่อ Rocky Linux.
Goodbye CentOS, hello Rocky Linux
รู้หรือไม่: ทั้ง SUSE และ Red Hat ล้วนแต่เป็นลินุกซ์ enterprise-grade ที่ทำรายได้ให้บริษัทจากโมเดล subscription ดังนั้นไม่แปลกที่เค้าพยายามรวมให้เป็นระบบนิเวศเดียว (เหมือน Ubuntu) ครับ ^^
source:
https://www.centos.org/centos-stream/
https://access.redhat.com/security/security-updates/
https://news.itsfoss.com/rocky-linux-announcement