แนะนำ: 3 SMTP Plugins สำหรับ WordPress (และวิธีแก้ไขเมลส่งช้า บางทีคุณก็ควรทำ)

จริงมั้ย! ความสามารถในการส่งอีเมลเป็นปัญหาสำหรับ WordPress
สำหรับรายชื่อของปลั๊กอินข้างล่างนี้ โดยส่วนตัวมีประสบการณ์ได้ใช้งานมาแล้วคือ Easy WP SMTP กับ WP SMTP Mail ครับ ซึ่งค่อนข้างใช้งานง่ายและดูเรียบง่ายสุด ๆ ตัวปลั๊กอินมีฟีเจอร์ Mailer ให้คุณเลือกเชื่อมต่อหา Email Service Provider มากมาย เช่น Google, SendGrid, Mailgun, Outlook, Amazon SES และ ฯลฯ

3 SMTP Plugins สำหรับ WordPress
ที่ได้รับความนิยมสูงสุด!

  1. Easy WP SMTP
  2. WP SMTP Mail (ส่วนตัวใช้อันนี้อยู่ครับ)
  3. WP Offload SES Lite
image credit: mailpoet

ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องทำคือ เราต้องไปสมัคร Account กับผู้ให้บริการส่งเมลก่อน หลังจากสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ล็อกอินเข้าไปที่หน้า Dashboard แล้วคลิก้เพิ่มโดเมน (Add Domain) ก็ให้เราใส่ชื่อโดเมนของเราลงไป เช่น mailer.yourdomain.com

ข้างล่างนี้เป็น 3 ผู้ให้บริการส่งเมล (Email Service Provider) ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

  1. SendGrid
  2. Mailjet
  3. Mailgun

ไปส่อง Offer จาก 3 ผู้ให้บริการส่งเมลกันหน่อย

  • SendGrid: ฟรี 40,000 ฉบับ/เดือน (เฉพาะเดือนแรกที่เริ่มต้นใช้งาน) อ้าว!! หลังจากนั้นฟรี 100 ฉบับ/วัน ฟรีตลอดชีพ! okay 55++
  • Mailjet: 6,000 ฉบับ/เดือน (จำกัดส่ง 200 ฉบับ/วัน)
  • Mailgun: 10,000 ฉบับ/เดือน (ไม่จำกัดจำนวนในการส่งต่อวัน) ส่วนตัวใช้อันนี้อยู่ครับ

สำหรับเว็บร้านค้าออนไลน์ที่ใช้ WooCommerce ที่มีคำสั่งซื้อมากกว่า 20 รายการต่อวัน ส่วนตัวคิดว่าอีเมล 100 ฉบับ/วัน ก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ ^^ หากไม่พอก็ควักเงินอัพเกรดแพคเกจได้!

และรู้หรือไม่ว่า…

เหตุใดคุณจึงควรใช้โฮสต์ของคุณในการส่งอีเมล

มีความปลอดภัย (transactional & logs) เพียงแต่ต้องคอนฟิก SMTP เซิร์ฟเวอร์ขึั้นมาเอง

วิธีที่ 1: ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์โฮสต์ของคุณ (โดยใช้ PHPMailer)

หากเป็น Cloud, VPS โฮสต์ก็ดีครับ มีความปลอดภัย (transactional & logs) เพียงแต่ต้องคอนฟิก SMTP เซิร์ฟเวอร์ แต่หากใช้ Hosting Stack เช่น cPanel, DirectAdmin ก็แทบไม่ต้องยุ่งกับคอนฟิกอะไรมากมายครับ

แต่หากเป็นบริการ Shared web hosting แล้วล่ะก็ลองนึกภาพตามครับผู้ใช้ทุกโดเมนบนโฮสต์เครื่องนี้จะส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน เนื่องจากเป็นการตั้งค่าเริ่มต้นสำหรับไซต์ WordPress (ฟังก์ชัน PHP mailer)แย่ไปกว่านั้นหากเป็นเว็บ e-Commerce ที่มีคำสั่งซื้อจำนวนมาก หากโฮสต์ไม่เร็วพอ ยิ่งเพิ่มงานให้เซิร์ฟเวอร์ ยิ่งคิวเยอะ อีเมลก็ส่งออกไปถึงลูกค้าด้วย)

ซ้ำร้าย! หากมีโดเมนใดทำ bulk sending แล้ว IP address เซิร์ฟวเวอร์โดน blocked. เคสนี้มีเป็นส่วนน้อย เพราะการทำการตลาดออนไลน์สมัยใหม่ใช้บริการ EDM (email marketing) แยก Subdomain หรือ SaaS กันหมดแล้ว ผู้ดูแลระบบเพียงสร้าง DNS records ของโดเมนเป็นอันเสร็จครับ

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียอิมเมจ (เสียแบรนด์)
ให้ใช้บริการพวก dedicated email services ครับ

วิธีที่ 2: ส่งอีเมล์ด้วย SMTP เซอร์วิส (โดยส่งผ่านอีเมล์ด้วยโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ของเรา)

เราสามารถส่งอีเมลออกโดยใช้ SMTP เซอร์วิสของโฮสต์ได้ (SMTP relay)ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีแรกครับที่เป็นการส่งอีเมลด้วยฟังก์ชัน PHP maillerวิธีนี้มีโอกาสที่จะพบปัญหาเกี่ยวกับการจำกัดจำนวนการส่ง (คิวในการส่ง) มันหมายความว่าหากเว็บไซต์ระบบของเรามีรายชื่ออีเมลจำนวนมาก(มีสมาชิกหลายพันหลายหมื่นคน)อีเมลแต่ล่ะฉบับของคุณจะใช้เวลาในการส่ง!

วิธีที่ 3: ส่งผ่านผู้ให้บริการด้านอีเมลโดยเฉพาะ (dedicated sending service)

บริการพวกนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแพลตฟอร์ม ที่เรียกว่า Email Service Provider (ESP) หรือผู้ให้บริการส่งอีเมลโดยเฉพาะ สำหรับจดหมายข่าวจำนวนมาก (คือให้เค้าส่งเมลให้เราแทนนั้นเอง โดยไม่ต้องผ่านโฮสต์ของเรา) ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้มี 2 รูปแบบครับ

  1. SaaS แพลตฟอร์ม
    เป็นแพลตฟอร์มการตลาดผ่านอีเมลแบบดั้งเดิม เช่น MailChimp หรือ MailPoet
  2. API แพลตฟอร์ม
    การเชื่อมต่อส่งอีเมลสมัยใหม่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงนักพัฒนาเขียนเรียกใช้งานตัวอย่าง ได้แก่ Amazon SES, SendGrid และ MailGun ครับ
    (เพิ่มเติม: ความแตกต่างระหว่าง SMTP กับ HTTP API)

แล้วทำไมคุณไม่ควรส่งอีเมลด้วย WordPress?

เมื่อเราได้เข้าใจวิธีการส่งอีเมลแบบต่างๆ บน WordPress แล้ว

ลองกลับไปทบทวนกันใหม่นะครับ หากใครยังมีปัญหาเรื่องส่งเมลอยู่ ส่วนตัวแนะนำเป็นวิธีที่ 1 ส่งผ่านเซิร์ฟเวอร์โฮสต์ของคุณ (VPS, Cloud server) หากไม่คำนึงถึงการส่ง email marketing หรือพวก newsletter นะครับ (newsletter plugins)

ส่วนวิธีที่ดีที่สุด! สมัยนี้คงไม่ต้องสงสัยเพราะว่าวิธีที่ 3 เป็นวิธีการส่งที่ดีที่สุดบนเทคโนโลยีปัจจุบันในการส่งอีเมลโดยใช้ WordPress ครับ

ว่าแต่ใช้เพื่อน ๆ ใช้วิธีไหนกันอยู่บ้างครับ คอมเม้นท์ช่วยแชร์กันมาหน่อยน่า
ส่วนผู้ที่สนใจความรู้เกี่ยวกับ Cloud Web Hosting คลิ๊กที่นี้

รู้หรือไม่? เราสามารถใช้ปลั๊กอิน WP Mail Logging เพื่อมอนิเตอร์ดูจำนวนอีเมลที่ส่งออกบนเว็บ WordPress ได้ หรือหากใช้บริการ MailGun ก็ดูผ่าน dashboard ได้เลยทันที!

แนะนำ: 3 SMTP Plugins สำหรับ WordPress
Scroll to top