DeFi Platform เอาเงินจากไหนมาแจกเป็น APR ให้นักลงทุน

DeFi Platform เอาเงินใครมาแจกเป็น APR (ดอกเบี้ย) ให้สมาชิกในวงแชร์ (แชร์ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่)

โพสบันทึกเรื่องของ DeFi หรือ Decentralized finance โลกการเงินใหม่บนเทคโนโลยี blockchain ครับ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจว่าคำ “Governance Token” ก่อนครับ
Governance Token เป็น Marketing keyword แห่งโลกแพลตฟอร์ม DeFi

นั้นเป็นสิ่งที่ผู้สร้างแพลตฟอร์ม defi กำหนดขึ้นมาตั้งแต่แรก ด้วยการวาง Pool คู่กับเหรียญอื่น ๆ เช่น เหรียญ KAI ของโปรโตคอล Kai Protocol 

1 KAI : 1 bKAI โดยที่เหรียญ KAI เป็น Algorithmic Stablecoin ที่มีมูลค่าเท่ากับ $1 USDT

หรือตัวอย่างอื่นๆ เช่น 100 Gov : 1000 USDT ดังนั้นราคา 1 Gov จะเท่ากับ 10 USDT เป็นต้น

เมื่อเจ้าของแพลตฟอร์ม defi ออกเหรียญ governance token มาแล้ว

จากนั้นแพลตฟอร์มก็จะเปิดให้นักลงทุน (Farmer) นำเหรียญมาฝากไว้ใน pool ต่างๆ ในแพลตฟอร์ม

ตรงนี้เจ้าของแพลตฟอร์มจะเขียน Smart Contract ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะให้ APR คู่ ที่เป็น governance token มากที่สุด 

ข้อสังเกตุ: เราจะเห็นได้ว่า APR คู่ governance token เยอะเป็นพิเศษ ทุกแพลตฟอร์ม defi ในโลกนี้เลยก็ว่าได้ เพราะการฝากคู่นี้จะเป็นการเพิ่ม liquidity ให้ governance token ทำให้ราคา governance token เสถียร ผันผวนน้อย

แต่สิ่งที่ตามมาคือ governance token ที่แจกเป็น APR ให้ Farmer คือเมื่อ Farmer ได้เป็นรางวัลมาแล้วเทขายไปเรื่อยๆ ผลที่ตามมาคือ ทำให้ราคา governance token ก็จะร่วง

สมมุติ ณ สมมุติ คือว่าถ้า demand governance token ไม่เพิ่มขึ้น พอราคาเหรียญ Gov Token ร่วง APR ก็ลดตามลงไป ผลตอบแทน Farmer ก็จะลดลงเรื่อยๆ

credit image: by Pascal Bernadon via Unsplash

แล้วทำไงให้ ราคา Governance Token ไม่ร่วงเหลือ 0 ล่ะ? 

คำตอบ: ก็ต้องสร้างวิธีสร้างรายได้ยังไงล่ะครับ หรือ แพลตฟอร์มนั้นมี productivity นั้นเอง และเนื่องจากรายได้ของแพลตฟอร์มโดยส่วนมากจะถูกออกแบบมาให้สะท้อนไปที่ราคา Governance Token ผ่านกลไกการ Burn เหรียญ

การ Burn เหรียญ คือ โอนเหรียญไปยัง wallet ที่ไม่มีใครสามารถเปิดเพื่อนำเหรียญออกมาได้

ซึ่งเป็นกลไกการลด  supply, การแจก APR เพิ่ม เมื่อ Stake ใน pool เหรียญ Governance Token เดี่ยวๆ เป็นการเพิ่ม demand เพื่อพยุงให้ราคา Governance Token เติบโตอย่างยั่งยืน (มั้ง 55)

แล้วถ้าเมื่อไรที่รายได้ของแพลตฟอร์ม < APR ที่แจก (แจกรางวัลเป็นเหรียญ Gov Token นั้นแหละครับ) ก็จะส่งผลให้ราคา Governance Token ร่วง เป็นไปได้ว่าคนที่ถือ Governance Token จะต้องเป็นคนเสียเงินให้ Farmer นั่นเอง

ในทางกลับกันถ้ารายได้แพลตฟอร์ม > APR ที่แจก ก็จะส่งให้ราคา Governance Token สูงขึ้น เป็นไปได้ว่าคนที่ถือ Governance Token ก็จะได้ส่วนแบ่งรายได้ตรงนี้นั่นเอง

ยังไม่รวมถึงอนาคตเหรียญถูก listing บน CEX และ DEX นะครับ 

หากเหรียญมีมูลค่า(ราคาขึ้น)คนถือเหรียญก็ได้รับอานิสงค์ไปด้วย นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการถือ Governance Token เปรียบเหมือนการถือหุ้นของแพลตฟอร์ม

ปล. ไม่ใช่ทุกแพลตฟอร์มที่ใช้โมเดลนี้ แต่ส่วนใหญ่ 95% ที่เห็นเป็นโมเดลนี้หมด (เพราะ Fork มา แล้วแก้ไขตัวแปร สร้างเหรียญและระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ อย่าหาทำ 555+++)

image credit: blockchain-review

Note: ลืมบอกไปว่า ค่า fee หรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของ defi แพลตฟอร์มเราต้องจ่ายอย่างน้อยต่ำกว่า 4-5 ครั้ง

1. swap เป็นเหรียญที่ต้องการ (ตามคู่เหรียญที่จะฟาร์ม อย่างน้อย 2 เหรียญ) อันนี้ก็กด 2 รอบล่ะ จ่าย fee อีก 2 รอบ
2. เมื่อได้เหรียญก็ต้อง Add LP ทำฟาร์ม LP (ย่อมาจาก Liquidity pool)
3. Provide liquidity -> Add เสร็จ (จ่าย free รอบที่ 3)
4. เอา LP token ที่ได้มายัดใส่ฟาร์ม (จ่าย fee รอบที่ 4)
5. step กด Harvest เพื่อนำเหรียญไป Add ก็ต้องจ่าย fee อีกนะครับ (จ่าย fee รอบที่ 5) โอ้ยแม่เจ้า

อีกว่า DeFi ยังมีแพลตฟอร์ม Yield Aggregators ประเภท Yield optimizer ที่จะนำเงินลงทุนของผู้ใช้งานไปทำให้เกิดผลกำไรสูงสุด

ซึ่ง Defi แพลตฟอร์มที่ทำให้ระบบ auto-compounding ก็อาทิ เช่น Yearn finance, Bunnypancake, Autofarm, Beefy finance และ KlayFi ที่ยังรองรับการฝาก LP จากแค่ที่เดียวเท่านั้นคือ KLAYswap ฝั่ง Klay Network ซึ่งเป็น Enterprise blockchain platform ของเกาหลีใต้

ระบบ auto-compounding คือ แพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้นำ LP จากแพลตฟอร์ม DeFi อื่นที่ต้องการนำมาทำฟาร์มเพื่อให้ระบบทำการเก็บเกี่ยวผลตอบแทนและขายเติมกลับเข้า LP ของเราอัตโนมัติ (auto compounding) เพื่อลดค่าธรรมเนียมให้กับผู้ใช้ และนอกจากนั้นในบาง Pool เรายังจะได้รับเหรียญ AUTO ที่เป็น Gov token ของแพลตฟอร์มเพิ่มเติมอีกด้วยครับ

ก็เช่น แพลตฟอร์ม KlayFi ที่ให้ผู้ใช้ KLAYswap นำ LP มาฟาร์มได้

KlayFi น่าสนใจคือ เมื่อผู้ใช้งานฝากคู่เหรียญเข้าไปใน KlayFi เราไม่ต้องดำเนินการอะไรเลยครับ ระบบจะทำการนำผลตอบแทนที่ได้ทบต้น ( Auto Compounding ) เข้าไปกับเงินต้นอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นไปอีก ถ้าเป็น DeFi แพลตฟอร์มอื่นเราต้องกด Harvest และนำเหรียญไป Add ซึ่งต้องดำเนินการเองและเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย

คำเตือน: ❗บทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูล และการฝากเงินใน DeFi ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก สุดท้าย DYOR หรือ Do Your Own Research น่ะครัาบบ ^^

คำปฏิเสธ  
ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในบทความ ผู้เขียนเผยแพร่โดยสุจริต และเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การดำเนินการใดๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการกับข้อมูลที่พบในบทความถือเป็นความเสี่ยงของตนเอง นะครับ

เนื้อหานี้ได้อ่าน ความคิดเห็น และข้อความที่แสดงในที่นี้เป็นของผู้เขียน โปรดรับทราบว่าการลงทุนของคุณอยู่ในความเสี่ยงของคุณเองและการสูญเสียใดๆ ที่คุณอาจต้องรับผิดชอบนั้นเป็นความรับผิดชอบของคุณ ครับ

Scroll to top