รู้จักกับ Kai Protocol โปรโตคอล เหรียญ Stable Coin บน Klaytn Network

สำหรับโพสต์บทความนี้จะพาไปรูัจักกับ Stablecoin ที่ถือว่าเป็นกลไกสำคัญของ Defi ecosystem และผู้เขียนจะแนะนำให้รู้จัก Kai Protocol ที่เรียกได้ว่าเป็น next-generation cross-chain บน Kalyt Network Blockchain แห่งเกาหลีโดยโทเคนชื่อ KLAY และรักษาความเสถียรของเครือข่ายโดยมีกลไกที่เรียกว่า Proof of Contribution (PoC) และ Klaytn Improvement Reserve (KIR) ที่ประเมินความโปร่งใสและกลไกสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้ระบบครับ

KAI Stablecoin
image credit: KAI Stablecoin, https://medium.com/klaytn

อย่างที่เราทราบกันว่าโลกของการเงินดิจิทัล โลกของคริปโทเคอร์เรนซี ปัจจุบันเราสามารถแบ่ง Stable coins ออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. Fiat backed-Stable coin (Fiat-Collateralized)

คือ เหรียญ Stablecoin ที่ผูกมูลค่าเข้ากับสินทรัพย์ในอัตรา 1:1 และเหรียญคริปโทที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ USDT ที่ออกโดยบริษัท Tether ฮ่องกงสร้างโดยใช้กลไกรักษามูลค่าผูกกับ Fiat Currency อย่างสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) ในอัตรา 1 USDT ต่อ 1$ ดอลลาร์ดังนั้น 1 เหรียญ USDT จะมีมูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์ เสมอครับ โดยทาง Tether จะเป็นผู้เก็บเงินดอลลาร์ไว้ในคลังเป็นมูลค่าที่เท่ากันกับเหรียญ USDT ที่ออกมา

คำถามหรือ แล้วนักลงทุนที่ถือเหรียญ USDT จะมั่นใจได้อย่างไว้ว่า Tether มีการเก็บเงินดอลลาร์ไว้จริงๆ และโปร่งใสแค่ไหน?

แน่นอนบริษัทก็ต้องมีการ Audit เป็นระยะๆ อยู่แล้วแหละ คงไม่ต่างจากการ Audit บัญชีครับ

2. Asset backed-Stable coin (Crypto-Collateralized)

คือ เหรียญที่ผูกกับสินทรัพย์ เช่น ทอง เพชร ฯลฯ  และคริปโทเคอร์เรนซี โดยใช้ Smart Contract เป็นกลไกในการออกเหรียญ เช่น เหรียญ Stablecoin อย่าง เหรียญ DAI ออกโดย Maker ก็ใช้กลไลเขียน Smart Contract บอกว่า ต้องนำเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีมาเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน 1.50 เท่า มา Lock ไว้ใน Smart Contract ของ MakerDAO ก่อนถึงจะสร้างเหรียญ Stablecoin นั้นๆ ออกมาได้

ยกตัวอย่าง เช่น อยากได้ DAI 100 ล้านดอลลาร์ เราจะต้องนำ ETH ไปเป็นหลักประกัน 150ล้านดอลลาร์ จากนั้นเมื่อได้ DAI ออกมาคุณอาจจะเอาเหรียญ DAI ไปฟารม์ฝากที่แพลฟอร์ม Compound เพื่อกินดอกเบี้ยอย่างนี้เป็นต้น ครับ

3. Algorithmic Stablecoins (Non-Collateralized)

คือ เหรียญ Stablecoin ที่ไม่ได้อิงมูลค่ากับสินทรัพย์ใดๆ แต่ใช้กลไกของ Oracle นำข้อมูลอ้างอิงจากโลกภายนอกเข้าสู่โลก Blockchain ครับเช่น เทียบมูลค่าเหรียญ Stablecoin ให้เท่ากับสินทรัพย์ที่อ้างอิงเป็นต้น เช่น ราคาของหุ้น หรือสกุลเงินดอลลาร์

เหรียญประเภทนี้ก็เช่น เหรียญ UST (TerraUSD) ออกโดย Terra เป็นต้นครับ

อ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า Algorithmic Stablecoins ไม่ได้ผูกมูลค่าไว้กับสินทรัพย์ แต่ทำให้มีมูลค่าคงที่ผ่านชุดคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ (Algorithm) หรือ Smart Contract บนเครือข่าย Blockchain
ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเงื่อนไขเป็นไปตามที่ถูกเขียนขึ้นมา ซึ่ง Stablecoin ประเภทนี้ได้แก่ DAI (Dai Stablecoin), APML (Ampleforth) และ DUSD (DefiDollar) ครับ

และ KAI ก็เป็นเหรียญ Stablecoin ประเภท Algorithmic Stablecoins ที่อยู่บนเครือข่าย Klaytn Blockchain

เหรียญ KAI ของโปรโตคอล Kai Protocol คืออะไร?

Kai Protocol มี Token ของแพลตฟอร์มคือ $KAI Token หรือเหรียญ KAI ครับ

โพสต์บทความนี้ไม่ได้มารีวิว Kai Protocol ผู้เขียนจึงขอข้ามเรื่องของ Tokenomics ของเหรียญ นะครับ

KAI Stablecoin กลไกการเผาเหรียญที่ไม่เหมือนใคร

คือเมื่อมูลค่าของเหรียญ KAI เริ่มผันผวน Smart Contract จะดำเนินการเพิ่มหรือลดลงจำนวนอุปทานของเหรียญ เช่น หากมูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากมีอุปสงค์มาก (TWAP-KAI) ระบบจะทำการเพิ่มอุปทานหรือเพิ่มจำนวนเหรียญ เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานมูลค่าก็จะคงที่ โดยที่ถูกผูกมูลค่าไว้กับ Exchange Rate ที่ 1:1 ของ Kai Bonds (bKAI)

คือ Kai Protocol จะออกเหรียญ KAI และแจกจ่ายตามสัดส่วนให้กับนักลงทุนที่ฝากเหรียญ sKAI ใน Pool ของ Kai Protocol ครับ

หรือหากมูลค่าลดลง เนื่องจากอุปสงค์น้อย ก็จะลดจำนวนเหรียญ KAI (TWAP-KAI ต่ำกว่า $1 USDT) โดยออกเหรียญ bKAI token และซื้อคืน Buyable bKAI ด้วยเหรียญ KAI และเผาเหรียญ KAI และจะไม่รวมอยู่ใน Circulating supply ครับ เมื่อมีการเผาเหรียญเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดเลยนั่นก็คือ จำนวน Supply ของเหรียญ KAI ในตลาดลดลงครับ

ว่าแต่ “เผาเหรียญ” คืออะไร?

บนโลกของคริปโตหรือสกุลเงินดิจิทัล (Token) การเผาเหรียญ (Coin Burn) คือ การนำเหรียญนั้น ๆ ออกจากการหมุนเวียนโดยเจตนา ด้วยวิธีการโอนเหรียญไปยัง wallet ที่ไม่มีใครสามารถเปิดเพื่อนำเหรียญออกมาได้เป็นต้น

คำศัพท์ที่ต้องรู้ในวงการ DeFi

  • Circulating Supply คือ จำนวนเหรียญทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด ณ เวลาปัจจุบัน ที่ขุดออกมาแล้วและสามารถ ซื้อขาย ถ่ายโอนให้กันจริงๆ ได้
  • Max Supply คือ จำนวนเหรียญทั้งหมดที่ถูกตั้งอัลกอริทึมไว้ ตั้งแต่ตอนสร้างว่า จะสามารถขุดหรือผลิตเหรียญได้ทั้งหมด แค่จำนวนเท่านี้ ไม่มีมากกว่านี้อีกแล้ว
  • Marketcap คือมูลค่าตลาดต่อจำนวนเหรียญทั้งหมดที่มีอยู่
  • TVL หมายถึง จำนวนเหรียญ (เงิน) ที่ถูกใส่เข้ามาใน 1 Smart contract address ของแพลตฟอร์มนั้นๆ
  • Valut หมายถึง “ระบบตู้เก็บมูลค่า” นิยมใช้กับเหรียญ Stable Coin ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีอัตราดอกเบี้ยสูง
  • Stake หมายถึง การฝากด้วยเหรียญเข้าไปใน LP
  • Earn หมายถึงว่า “ได้รับ” หรือได้ดอกเบี้ย
  • APR หมายถึง อัตราดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คิดเป็นรายปี
  • APY หมายถึง อัตราดอกเบี้ยได้รับแบบทบต้น คิดเป็นรายปี ซึ่งการทบต้นของดอกเบี้ยนั้น ถ้าเป็นแบบอัตโนมัติระบบมักจะเรียกว่า Auto Compound หรือ Auto Compounding แต่ถ้าเป็นการทบต้นแบบไม่อัตโนมัติระบบจะเรียกว่า Compound อย่างเดียว
  • Daily APR หมายถึง การเพิ่มกระแสเงินสดรายวัน เช่น หากฟาร์มที่เราใช้บริการอยู่กำหนดว่า Daily APR 0.10% นั้นก็แปลว่า ถ้าเราฝากทุน 1 ล้านบาท เราจะได้รับดอกเบี้ยวันละ 1,000 บาท ครับ
KlayFi protocol
image credit: Klaytn Blockchain, KlayFi protocol

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดู Pool คู่เหรียญ (Earn sKAI ได้ที่นี่) ดีกว่าถือเหรียญไว้เฉยๆ เช่น คุณ Stack ฟาร์มคู่เหรียญ KLAY-sKAI Pair ซึ่งคุณจะได้ดอกเบี้ยเป็นเหรียญ KSP และ sKAI เป็น Reward ครับ นอกจากนั้นคุณยังสามารถเอาเหรียญ sKAI ที่ได้เป็น Reward ไป Stake ได้อีกครับ หรือแม้กระทั่ง Holding ซื้อ bKAI ถือไว้ก็ได้แล้วค่อย Redeem

คำเตือน:

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (Pool คู่ Pair) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตามครับ ไม่มีอะไรการันตีความเป็นไปได้ว่า ในอนาคตว่าทิศทางของเหรียญและมูลค่าของมันจะเป็นอย่างไร ผู้ลงทุนควรใช้วิจารณญาณในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเท่านั้น!

คำปฏิเสธ

ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในบทความ ผู้เขียนเผยแพร่โดยสุจริต และเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น การดำเนินการใดๆ ที่ผู้อ่านดำเนินการกับข้อมูลที่พบในบทความถือเป็นความเสี่ยงของตนเอง นะครับ

เนื้อหานี้ได้อ่าน ความคิดเห็น และข้อความที่แสดงในที่นี้เป็นของผู้เขียน โปรดรับทราบว่าการลงทุนของคุณอยู่ในความเสี่ยงของคุณเองและการสูญเสียใดๆ ที่คุณอาจต้องรับผิดชอบนั้นเป็นความรับผิดชอบของคุณ ครับ

source:
https://www.klaytn.com/GroundX_Klaytn_MediaKit_EN.pdf
https://docs.kaiprotocol.fi/protocol-and-mechanisms/tokens

Scroll to top